นโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงาน

- นโยบายของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอดำเนินสะดวก -

-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-

1. ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ (PP & P Excellence)

-  พัฒนาศักยภาพทีมตระหนักรู้สถานการณ์  (SAT)  และทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค  (JIT)  ตามกรอบแนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค  และวางระบบศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน  (EmergencyOperationCenter,EOC)  ด้วยการเชื่อมโยงการดำเนินงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบโต้กรณีโรคติดต่อร้ายแรง  พร้อมทั้งโรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำ  อาทิ  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019  และโรคไข้เลือดออก  ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่

-  จัดตั้งคลินิกไร้พุง  (Diet&PhysicalActivityClinic, DPAC)  และจุดคัดกรองสุขภาพ  (HealthCheckPoint, HCP)  ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง  เพื่อเป็นกระบวนการหลักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง  และลดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและโรคแทรกซ้อนในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

-  มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ  ภายใต้การบูรณการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  ด้วยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)  ให้ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน  โดยประกอบด้วย  ประเด็นขับเคลื่อนที่สำคัญ  คือ  สัญจรปลอดภัย  (การลดอุบัติเหตุทางถนน), อาหารปลอดภัย, การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม, การส่งเสริมการออกกำลัย  และสังคมผู้สูงอายุ

2. บริการเป็นเลิศ (Service Excellence)

- คงระดับการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ตามเกณฑ์คุณภาพ รพ.สต.ติดดาว ในระดับ 5 ดาว Re-accredit (ร้อยละ 100)

- พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง มีความพร้อมและมีสมรรถนะที่เหมาะสมตามเกณฑ์คลินิกหมอครอบครัวและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562

- ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านสุขภาพ เพื่อปรับปรุง สร้างสรรค์และพัฒนาการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ

3. บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)

- จัดทำและดำเนินงานตามแผนพัฒนาและธำรงรักษาบุคลากร ระยะ 3 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานบุคคลที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรที่มีความพร้อมรองรับการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม

- เสริมสร้างความสุขในการทำงานให้แก่บุคลากรทุกประเภทและระดับ เพื่อรักษาอัตราคงอยู่ของบุคลากรให้มากกว่าร้อยละ 95 ต่อปีงบประมาณ

- ปรับปรุงการจ้างบุคลากรให้สอดคล้องกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและกรอบโครงสร้างที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด และดำเนินการตรวจสอบสวัสดิการ และการจ่ายเงินค่าตอบแทนตามระเบียบต่าง ๆ ให้มีความถูกต้อง เสมอภาค และเป็นธรรม

4. บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence)

- จัดทำคำรับรองปฏิบัติราชการระหว่างสาธารณสุขอำเภอและผู้ใต้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ปีละ 2 ครั้ง โดยมีระบบติดตามตัวชี้วัดและประเมินผลการดำเนินงาน ด้วยการตรวจราชการ (นิเทศ) และตรวจสอบและควบคุมภายใน ด้วยคณะกรรมการระดับอำเภอ ปีละ 2 ครั้ง

- มีการทบทวนวิสัยทัศน์ อัตลักษณ์และทิศทางขององค์กร ปีละ 1 ครั้ง และมีการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปี ให้สอดคล้องกับ OKRs(Objective&Keyresult) และตัวชี้วัด KPIs (KeyPerformanceIndicator) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี โดยมีการประเมินผลลัพธ์ในทุกไตรมาสของปีงบประมาณ

- ปรับปรุงระบบการบริหารงานโดยใช้เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) และปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดการเรื่องร้องเรียน และการบริหารงานสาธารณสุข ตามเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (IntegrityandTransparencyAssessment, ITA)

- พัฒนาระบบและมาตรการในการควบคุมภายใน และตรวจสอบการจัดทำโครงการของหน่วยบริการ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

- รายชื่อแผนงานตามยุทธศาสตร์  4  ด้าน -